เที่ยวทั่วไทย
เที่ยวสตูล ก้าวข้ามกาลเวลา 5 จุดเช็คอินอุทยานธรณีสตูล
เที่ยวสตูล ทริปนี้เราจะพาก้าวข้ามกาลเวลาสู่ มหายุคพาเลโอโซอิก ยุคแคมเบียน และยุคออร์โอวิเชียน ต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลก อวตารร่างตามรอยนักธรณีวิทยา กูรูเรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลก ค้นหาซากฟอสซิล ซากดึกดำบรรพ์ เดินทางท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาเช็คอิน 5 แลนด์มาร์คสำคัญในดินแดนมหัศจรรย์อันน่าทึ่ง SATUN GEOPARK อุทยานธรณีโลกแห่งแรกของไทย ไม่ไปไม่ได้แล้วเธอ สตอรี่ดีเวอร์เบอร์นี้ พลาดได้ไง เลทสะโกจ้าาาา…
1.ถ้ำภูผาเพชร – อะเมซิ่งห้องลับ 50 กว่าไร่ ใต้ภิภพ
ถ้ำภูผาเพชร เดิมชื่อว่า “ถ้ำลอด ถ้ำยาว หรือถ้ำเพชร” เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่ติดอันดับ 4 ของโลก มีพื้นที่ภายในถ้ำกว่า 50 ไร่ ปากถ้ำจะอยู่บนเขาสูง เราจะต้องเดินสลายแคลลอรี่พิชิตทางเข้าถ้ำผ่านบันไดไต่เขากว่า 300 ขั้น ทางเข้าค่อนข้างแคบ คลานลอดผ่านเข้าไปนิดเดียวก็จะเจอห้องโถงใหญ่ ส่วนการเดินชมภายในค่อนข้างสะดวก เพราะมีบันไดไม้ให้เดินครบทุกจุดเที่ยวชม
ภายในถ้ำมีความน่าทึ่ง อะเมซิ่งสุดๆอะเธอ เต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยรูปทรงประหลาด แปลกตา สวยงาม เปล่งประกายระยิบระยับคล้ายเกล็ดเพชร ไฮไลท์สำคัญในถ้ำประกอบด้วย สายน้ำเพชร ,โดมศิลาเพชร ,อ่างศิลาใหญ่ ,เวทีคอนเสิร์ต และลานแสงมรกต
ลานแสงมรกต เป็นไฮไลท์ปลายทางที่ต้องไปให้ถึงอะเธอ ลักษณะเป็นห้องโถงกว้างๆ ตรงกลางมีหินรูปพญาครุฑสีเขียวมรกตสวยงาม ตั้งโดดเด่นรับแสงที่ลอดผ่านเพดานถ้ำด้านบน
ถ้ำภูผาเพชร ถือเป็นถ้ำเป็นที่ยังคงสมบูรณ์ มีหินงอก หินย้อย ที่ยังคงต่อยอด ออกแขนงสะสมตะกอนหินปูนเรื่อยๆ นานไปก็ได้รูปทรงแปลกประหลาดน่าทึ่ง สวยงาม ประมาณนั้น นอกจากหินงอกหินย้อยแล้ว ถ้ำภูผาเพชรยังพบซากดึกดำบรรพ์ของแบคทีเรีย (สโตรมาโตไลท์) และหมึกทะเลโบราณ (นอติลอยด์) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าหินปูนบริเวณถ้ำภูผาเพชรนี้มีอายุอยู่ในช่วงยุคออร์โดวิเชียน หรือเมื่อประมาณ 450 ล้านปีมาแล้ว และยังพบเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งบ่งบอกถึงการเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อีกด้วย
ถ้ำภูผาเพชร เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:30 น.-16:30 น.
ค่าเข้าอุทยานฯ คนละ 20 บาท ค่าบริหารจัดการของชุมชนคนละ 20 บาท และค่าไฟฉายอันละ 20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 074-605-466
พิกัด : ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล https://goo.gl/maps/ncCTjgNMm852
2.สะพานข้ามกาลเวลา – เขตข้ามกาลเวลาหินสองยุค
สะพานข้ามกาลเวลา หรือเขตข้ามกาลเวลา อยู่ที่เขาโต๊ะหงาย ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ลักษณะเป็นรอยเลื่อนของหินสองยุคที่มีอายุแตกต่างกันคือชั้นหินสีแดงยุคแคมเบรียน (กลุ่มหินตะรุเตา) และหินปูนสีเทายุคออร์โอวิเชียน (กลุ่มหินทุ่งสง) มาบรรจบกัน มองเห็นได้อย่างชัดเจน
นอกจากสตอรี่เรื่องของกาลเวลาแล้ว ทัศนียภาพของเขาโต๊ะหงายยังสวยงาม เป็นหน้าผาสูงชันและท้องทะเลสุดลูกหูลูกตา ทางอุทยานหมู่เกาะเภตราจึงได้สร้างสะพานเดินรอบเขาโต๊ะหงายด้านที่ติดทะเล มีจุดชุมวิว และมุมถ่ายรูปสวยๆเพียบ ที่สำคัญเป็นแลนด์มาร์คชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงามอีกด้วยเธอ
สะพานข้ามกาลเวลา อยู่ไม่ไกลจากจุดชมวิวปากบารา เราสามารถแวะเที่ยว เซลฟี่กับวิวทะเลสวยๆ ได้อะเธอ
สะพานข้ามกาลเวลา เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 น.-18:00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.074-740-272
พิกัด : บ้านตะโละใส ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล https://goo.gl/maps/9MdprU7hynR2
3. ถ้ำเลสเตโกดอน – พายแคนู ดูถ้ำ ข้ามกาลเวลา
ถ้ำเลสเตโกดอนเป็นถ้ำเลที่ยาวที่สุดของไทย ด้วยระยะทางกว่า 3.5 กิโลเมตร อยูในเทือกเขาหินปูน คล้ายๆอุโมงค์ใต้ภูเขา คดเคี้ยวเลี้ยวโค้งไปตามเส้นทางของธารน้ำ มีความสำคัญทางธรณีวิทยาคือ มีการค้นพบฟอสซิลดึกดำบรรพ์ของช้าง และแรดยุคไพลสโตซีน กว่า 2 ล้านปีก่อนยุคน้ำแข็งเกิดซะอีกเธอ ฟอสซิลของช้างที่ค้นพบเป็นช้าง “สเตโกดอน” จึงเรียกชื่อถ้ำตามช้างที่พบ และการพบฟอสซิลช้างสเตโกดอนนี้เอง ทำให้นักธรณีวิทยาหันมาสนใจค้นคว้า สำรวจภายในถ้ำเลสเตโกดอนรวมไปถึงพื้นที่ต่างๆในจังหวัดสตูลอย่างจริงจัง จนทำให้จังหวัดสตูลก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็น Geopark แห่งแรกของไทยในที่สุด
ไฮไลท์สำคัญภายในถ้ำ ประกอบด้วย นางฟ้าผมทอง ,แมงกะพรุนยักษ์ ,หินเต่าล้านปี ,กลุ่มหินย้อยหลอดกาแฟ ,ห้องโถงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และที่พลาดไม่ได้คือการตามหา “หัวใจที่ปลายอุโมงค์” อะเธอ
รายละเอียดเพิ่มเติม
- การท่องเที่ยวต้องจองล่วงหน้า อย่างน้อย 1 วัน เวลาในการเข้าถ้ำจะเปลี่ยนทุกวันเนื่องจากการท่องเที่ยวจะมีความสัมพันธ์กับการขึ้น – ลงของน้ำทะเล เที่ยวได้แค่วันละ 1 รอบ (เฉพาะเวลาที่น้ำทะเลขึ้นเต็มที่เท่านั้น) ใช้เวลาตลอดทริป ประมาณ 3 ชั่วโมง
- รับเป็นคณะ อย่างน้อยในแต่ละวันต้องมี 8 คน ขึ้นไป และจำกัดจำนวนไม่เกิน 60 คน ค่าบริการคนละ 300 บาท หากมีไม่ถึง 8 คน สามารถเลือกวันเที่ยวให้ตรงกับคณะอื่น หรือไปในราคาเหมาจ่ายได้
- ไม่อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ และผู้สูงอายุที่เดินเหินไม่สะดวก มีโรคประจำตัว ปวดหลัง ข้อเข่าไม่ดี เข้าถ้ำ
- ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปภายในถ้ำ
- สวมเสื้อผ้าและรองเท้าที่ใส่สบายๆ โดนน้ำได้ สัมภาระไม่จำเป็นไม่ต้องเอาเข้าไปในถ้ำ โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูปถ้าจะเอาไปต้องระวังเอง อาจโดนน้ำ หรือตกน้ำเสียหายได้ และไม่อนุญาตให้นำอาหารเข้าไปรับประทานภายในถ้ำ
สอบถามเพิ่มเติมโทร. 063-465-4924 ผอ.อุทยานธรณีสตูล, 07-478-9317 หรือ 084-858-5100 กัลยา เกตุศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า
แฟนเพจ : ถ้ำเล สเตโกดอน
พิกัด : 206 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล https://goo.gl/maps/9Gt4mZPocPy
4.ปราสาทหินพันยอด – อะเมซิ่งหินล้านปี ดินแดนฟอสซิลแลนด์
ปราสาทหินพันยอด อยู่ในบริเวณของเกาะเขาใหญ่ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ลักษณะเป็นหลุมยุบเล็กๆ น้ำสีเขียวมรกต มีหาดทราย โอบล้อมด้วยภูเขาหินปูนรูปทรงประหลาดแปลกตา คล้ายๆ ยอดปราสาทนับพันยอด ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเล น้ำฝนเป็นเวลาหลายล้านปี นอกจากนี้บริเวณเกาะเขาใหญ่ ยังพบซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์ สัตว์จำพวกหอย กลุ่มเดียวกับหมึก เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่อ่าวฟอสซิลหรือฟอสฟิลแลนด์
การท่องเที่ยวปราสาทหินพันยอด จะต้องติดต่อใช้บริการวันเดย์ทริปกับวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีให้บริการหลายชุมชม โปรแกรมทริปคร่าวๆ
- นั่งเรือหัวโทงเที่ยวทะเลแห
วกสันหลังมังกร - ชมวิวทิวทัศของอ่าวตะโล๊ะบิ
แตและอ่าวหินงาม - พายแคนูล่องถ้ำลอดพบรักสัมผ
ัสความอันซีนของประติมากรรม ธรรมชาติปราสาทหินพันยอด - ค้นหาซากฟอสซิล ซากดึกดำบรรพ์ ของสิ่งมีชีวิตต่างๆในชั้นข
องหิน ที่ดินแดนฟอสซิลแลนด์ - ตามล่าหาหัวใจสีที่ปลายผา ณ ดินแดนฟอสซิลแลนด์
- ฟังตำนานสำเภาเภตราหินตาหิน
ยาย
จุดแรกของทริป จะให้เรานั่งเรือแคนู ลอดถ้ำลอดพบรัก และเข้าไปสัมผัสปราสาทหินพันยอด
ต่อด้วยอ่าวฟอสซิล หรือฟอสซิลแลนด์ ค้นหานอติลอยด์หอยล้านปี และหัวใจสีที่ปลายผา
นอติลอยด์หอยล้านปี
ปิดท้ายทริปด้วยทะเลแหวก สันหลังมังกร
14 วิสาหกิจชุมชนที่เปิดให้บริการท่องเที่ยวปราสาทหินพันยอด เกาะเขาใหญ่
- กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองละงู โทรศัพท์ 080-139-2436, 088-179-7977
- กลุ่มชมรมเรือท่องเที่ยวบาโรยตำบลละงู โทรศัพท์ 086-299-2562
- กลุ่มปากน้ำซีแอลฟิชชิ่งทัวร์ โทรศัพท์ 089-597-3425
- กลุ่มชุมชนอ่าวนุ่น โทรศัพท์ 094-593-2849
- กลุ่มบ้านหลอมปืน โทรศัพท์ 098-016-8026
- กลุ่มรักเขาใหญ่ โทรศัพท์ 087-899-1300
- กลุ่มปากบาราคายัค โทรศัพท์ 081-776-1271
- กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านปากบารา โทรศัพท์ 081-478-3517
- กลุ่มกัวลาบาราทัวร์ โทรศัพท์ 080-949-4483, 098-058-8890
- กลุ่มล่องเรือเล่นอ่าวปากบารา โทรศัพท์ 093-908-9353
- กลุ่มตาลาตู้โย๊ะ ซีซอ โทรศัพท์ 081-542-0071, 063-845-2924
- กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางทะเลอันดามัน โทรศัพท์ 085-367-5093
- กลุ่มอนุรักษ์การท่องเที่ยวบ้านบ่อเจ็ดลูก โทรศัพท์ 081-542-0071 , 098-695-6461
- กลุ่มรักษ์ปากน้ำ โทรศัพท์ 093-597-7800
สนใจติดต่อสอบถามไปได้เธอ หรือจะสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา โทรศัพท์ 074-740-272 จ้าาาา..
พิกัด : ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล https://goo.gl/maps/4HiSBYrai8H2
5.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล – คฤหาสน์กูเด็น ภูมิหลังดั้งเดิมชาวสตูล
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล ไม่ได้กำเนิดในยุคหลายล้านปีเหมือนที่อื่นๆ นะเธอ อย่าพึ่งเข้าใจผิด 55555++ แต่ก็มีสตอรี่ความเป็นมายาวนานเหมือนกัน สร้างขึ้นโดยพระยาภูมินารถภักดีหรือ ตวนกู บาฮุดดิน บินกูแมะ เจ้าเมืองสตูล ในสมัย ร.5 ระหว่างพ.ศ.2441 – 2459 เป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโดโรเนียลประมาณนั้น
เดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่มิได้มาพักแรม ต่อมาจึงใช้เป็นบ้านพัก จนสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปีพ.ศ.2484 ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น หลังจากนั้นพ.ศ.2490 – 2509 ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล ปลายปีพ.ศ.2509 ใช้เป็นโรงเรียนและเป็นสำนักงาน กอ.รมน.
คฤหาสน์กูเด็น ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปีพ.ศ.2532 กรมศิลปากร ได้บูรณะปรับปรุงอาคารคฤหาสน์กูเด็น ตั้งแต่ปีพ.ศ.2537 แล้วเสร็จปีพ.ศ.2542 และดำเนินการจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล มาจนถึงปัจจุบัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล เปิดให้บริการทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09:00 น.-16:00 น. ปิดให้บริการวันจันทร์และวันอังคาร ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 074-723-140
พิกัด : ซอย 5 ถนนสตูลธานี ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล https://goo.gl/maps/EGn7uHzVsE82
เที่ยวสตูล ไม่ได้มีแค่ทะเลเธอ ทริปนี้ฟินไปเวอร์ ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งการผจญภัย สนุกสนาน มีความแอดแวนเจอร์นิดๆ คุ้มเวอร์เธอไม่ควรพลาด ปักหมุด 5 จุดนี้แล้วไปตามรอยโลดเธอ ไม่ผิดหวังชัวร์
ขอบคุณที่ติดตามเธอ
เจอกันทริปต่อไป
“ตากล้อง ท่องเที่ยว”
Facebook page : ตากล้อง ท่องเที่ยว
IG : taklongtongteaw